วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์





คณะการบัญชีจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2513 เปิดสอนหลักสูตร 4 ปี  และหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี  ทั้งภาคปกติและภาคค่ำ
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร  จะได้รับปริญญา "บัญชีบัณฑิต"  (บช.บ.)
Bachelor of Accounting  (ฺB. Acc.)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความสามาาถในวิชาชีพบัญชี  เน้นความเป็นนักบัญชีวิชาชีพที่มีทักษะจากการฝึกปฏิบัติงานจริงและสามารถศึกษาความรู้ที่สร้างศักยภาพตามแนวทางวิชาชีพบัญชีซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ  ทั้งทางด้านการบริหาร  การตรวจสอบ  และการวางระบบสารสนเทศทางการบัญชี  สามารถนำองค์ความรู้  แนวคิด  หลักการ  และเทคนิคต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน ให้นักศึกษามีความรู้กว้างขวางในด้านอื่น  ทั้งทางด้านบริการสังคม  สร้างจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม  และจริยธรรมในวิชาชีพ  นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านอื่นๆ ตามแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย
หลักสูตร
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตศึกษา (บช.บ.) หลักสูตร 4 ปี
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตศึกษา (บช.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตศึกษา (บช.บ.) บัญชี (ภาคบัณฑิต) ปริญญาใบที่สอง
โครงสร้างหลักสูตรภาคปกติ

โครงสร้างหลักสูตรภาคค่ำ
แผนการศึกษา
แนวทางการศึกษาต่อและแนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต  สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้

  • ปริญญาโทและเอกทางการบัญชีทั้งในและต่างประเทศ
  • ปริญญาโทในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง  เช่น บริหารธุรกิจ  การจัดการ  เศรษฐศาสตร์  ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์  เป็นต้น
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการบัญชี  การสอบ  บัญชี  การภาษีอากร  และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การตลาด  การเงิน  การประกันภัย  เป็นต้น

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต  จัดให้สอดคล้องกับแนวทางการประกอบวิชาชีพตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543  และพ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547  เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณสมบัติทางด้านการบัญชีครบถ้วนตามข้อกำหนด  สามารถเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพบัญชีได้  และเืพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะในการปฏิบัติงาน  จึงกำหนดวิชาบัญชีภาคปฏิบัติเป็นภาคบังคับ  นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีกลุ่มวิชาเลือกที่สอดคล้องกับแผนวิชาชีพบัญชีตามความต้องการของภาคธุรกิจ  เพื่อเน้นศักยภาพในการประกอบวิชาชีพเฉพาะด้าน  นอกเหนือจากการเป็นนักบัญชีวิชาชีพ  เช่น  ผู้ตรวจสอบภายใน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบสารสนเทศ  เจ้าหน้าที่การเงิน  เจ้าหน้าที่พัสดุ  ผู้จัดการ  ฝ่ายบัญชีและการเงิน ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบ  เจ้าหน้าที่สรรพากร  เจ้าหน้าที่การตลาด  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์  เป็นต้น  ซึ่งเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ  รัฐวิสาหกิจ  และภาคเอกชน  รวมทั้งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ  เช่น  เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  ผู้จัดทำบัญชี  ผู้วางระบบบัญชี  ผู้ตรวจสอบภาษีอากร  ที่ปรึกษาการบัญชีและการเงิน  หรือเป็นอาจารย์นักวิจัย  นักวิชาการในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น