วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.จุฬา


             สวัสดีครับ.. ระเบียบการรับตรงปี 2556 คณะแรกของจุฬาฯ ออกมาแล้วครับ!! เป็นของคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี เปิดรับในรูปแบบปกติ มีรายละเอียดดังนี้ครับ

             ข้อมูลรับตรงแบบปกติ (รอบที่ 1) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
เด็กดีดอทคอม :: มาแล้ว!! รับตรง 56 คณะพาณิชยฯ การบัญชี จุฬาฯ

คุณสมบัติ
           - ต้องศึกษาอยู่ระดับม. 6 (ไม่รับการสอบเทียบ)
           - ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมของม.4-5 รวม 4 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.0
           - หลักสูตรบัญชี และบริหารธุรกิจ แยกรับสายวิทย์ และสายศิลป์คำนวณ โดยทั้งสองหลักสูตรใช้ GAT (50%) PAT1 (50%) เกณฑ์ผ่าน GAT+PAT1 มากกว่า 50%
           - หลักสูตรสถิติ แยกรับตามสาขาสถิติ การประกันภัย และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ ทั้งสามสาขาใช้ GAT (40%) PAT1(30%) PAT2(30%) และ GAT+PAT1+PAT2 ต้องมากกว่า 50%

กำหนดการรับสมัคร
           - รับสมัครระหว่าง 4-13 ก.ค. ที่ http://www.atc.chula.ac.th/
           - ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานทางไปรษณีย์ ภายใน 4-13 ก.ค.
           - สอบ GAT, PAT รอบเดือนตุลาคม
           - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ (รวมตัวสำรอง) 4 ธ.ค. 2555
           - สอบสัมภาษณ์ 12 ธันวาคม 2555
           - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 25 ธ.ค. 2555
           - รายงานตัวเข้าศึกษา 28 ธ.ค. 2555
           - เรียกผู้สอบได้สำรองรายงานตัว (ถ้ามี) 3 ม.ค. 56
           สำหรับใบสมัคร และจำนวนการรับ น้องๆ สามารถรอตามได้จากระเบียบการรับสมัครที่จะออกมาอย่างเป็นทางการ ประมาณปลายเดือน มิ.ย.นี้ครับ



หลักสูตรการเรียนการสอน
ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปี ของการดำเนินงานนั้น คณะฯ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นตามลำดับ อีกทั้งยังได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันคณะฯ ได้มีหลักสูตรในการเรียนการสอนครอบคลุมในทุกระดับการศึกษา เพื่อรับรองการขยายตัวทางศึกษาในอนาคต ดังนี้
คณาจารย์ ในปีการศึกษา 2482 ซึ่งเป็นปีการศึกษาแรกนั้น คณะฯ มีอาจารย์ประจำเพียง 2 คน ต่อมาได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ จนกระทั่ง ปีการศึกษา 2552 คณะฯ มีอาจารย์ประจำทั้งสิ้น 127 คน โดยมีอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก 77 คน คิดเป็นร้อยละ 60.63 เมื่อเทียบกับจำนวนนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา จะมีอัตราส่วนอาจารย์ 1 คนต่อนิสิต 41 คน
อาคารเรียน ในระยะแรกคณะฯ ได้อาศัยบางส่วนของตึกอักษรศาสตร์เป็นสำนักงานและที่เรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 คณะฯ ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างสถานศึกษาให้เป็นสัดส่วน และอยู่ในภาวะสงครามจึงไม่สามารถสร้างอาคารเรียนขนาดใหญ่ได้ จึงได้สร้างเรือนไม้มุงหลังคาจากขึ้นชั่วคราวข้างตึกอักษรศาสตร์ซึ่งนับว่าเป็นสถานที่เรียนแห่งแรกของคณะฯ นิสิตของคณะฯ ในสมัยนั้นได้ขนานนามสถานที่เรียนของคณะฯ ว่า "กระท่อมสีฟ้า" ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นกระท่อมหลังคาจาก แต่นิสิตทุกคนก็ภูมิใจในกระท่อมนี้โดยทั่วกัน
พ.ศ. 2492 รัฐบาลอนุมัติเงินงบประมาณ 1 ล้านบาทให้คณะฯ เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรเป็นเอกเทศหลังหนึ่งขึ้น
ที่ข้างตึกหอสมุดกลางเดิม ปัจจุบันได้โอนตึกหลังนี้ให้คณะอักษรศาสตร์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอาคารเรียนที่ถาวรของคณะฯ
เป็นหลังแรก ต่อมาเมื่อจำนวนนิสิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนสถานที่เรียน ศาสตราจารย์ อุปการคุณ พระยาไชยยศสมบัติ จึงดำเนินการแก้ไขโดยได้ขอที่ดินหมอนที่ 18 และ 19 ของมหาวิทยาลัย รวมเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความจำเป็นและได้อนุมัติ ตลอดจนขอให้รัฐบาลออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินให้ปลอดจากการเช่าเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 คณะฯ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่ คือ อาคารไชยยศสมบัติ 1 2 และ 3 ส่วนอาคารบัณฑิต กันตะบุตร เป็นที่ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2505
จากการขยายตัวของหลักสูตรและการบริหารงานของคณะฯ ให้ทันกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิชาการ ทำให้คณะฯ จำเป็นต้องหาสถานที่ศึกษาเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อคณะฯ ครบ 50 ปี ก็สร้างอาคารอนุสรณ์ 50 ปี เป็นอาคาร 8 ชั้น และปัจจุบันได้มีอาคารเรียนรวมทางด้านสังคมศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกหลังคืออาคาร "มหิตลาธิเบศร" ซึ่งมหาวิทยาลัยสร้างขึ้นบนพื้นที่เดิมของอาคาร 4 อาคาร 5 และห้องประชุมสถิติของคณะฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น